ฝ่ายติดตามผลการศึกษาและวินัยนิสิต

คิดไม่ออก?…บอกอาจารย์ที่ปรึกษา

N

สถานที่ตั้ง

อาคาร D ชั้น 1 ห้อง D 101 , D 102

N

เวลาทำการ

วันจันทร์ – วันเสาร์

เวลา 08.30 น. – 16.30 น.

N

เบอร์โทรศัพท์

(02) 375 – 4480 – 6 ต่อ 144 และ 145 (ฝ่ายติดตามผลฯ)
(02) 375 – 4480 – 6 ต่อ 128 (วินัยนิสิต)

เกี่ยวกับอาจารย์ที่ปรึกษา

การวางแผนอัตรากำลังบุคลากรฝ่ายติดตามผลการศึกษาและวินัยนิสิตในการปฏิบัติงานฝ่ายติดตามผลการศึกษาและวินัยนิสิต แบ่งความรับผิดชอบของอาจารย์ที่ปรึกษาออกเป็นคณะ / สาขาวิชา ประกอบด้วย 9 คณะ 25 สาขาวิชา โดยอาจารย์ที่ปรึกษาหนึ่งท่านจะดูแลนิสิตประมาณ 240 คน อาจารย์ที่ปรึกษามีการจัดประชุมนิสิตประจำสาขาวิชาที่รับผิดชอบ เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนิสิตกับอาจารย์ที่ปรึกษา

ฝ่ายติดตามผลการศึกษาและวินัยนิสิต

ฝ่ายติดตามผลการศึกษาและวินัยนิสิต มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลให้คำปรึกษานิสิตตลอดระยะเวลา ในการศึกษาทั้งภายในและภายนอกสถาบัน ให้นิสิตสามารถดำเนินชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยได้อย่างมีความสุข และดูแลระเบียบวินัยของนิสิตให้เป็นไปตามนโยบายของมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังคอยดูแลให้คำปรึกษานิสิต ทุกเรื่อง หากนิสิตสงสัยหรืออยากทราบข้อมูลของมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิตที่เกี่ยวข้องกับตัวนิสิตโดยตรงเป็นกรณีพิเศษ นอกจากนี้อาจารย์ที่ปรึกษายังมีหน้าที่คอยตักเตือนนิสิตให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย เพื่อให้มีความประพฤติที่เหมาะสมในสังคม

คิดอะไรไม่ออก?…บอกอาจารย์ที่ปรึกษา

1. ดูแลทุกเรื่องการเรียน

– นิสิตขาดเรียน
– นิสิตลาพักการเรียน
– นิสิตลาออก
– นิสิตเสียชีวิต
– นิสิตนักกีฬา
– นิสิตที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ (นิสิตที่บกพร่องทางร่างกาย)
– นิสิตมีผลการเรียนต่ำ
– ให้คำแนะนำในการลงทะเบียนเรียนแต่ละภาคเรียนของนิสิต
– ให้คำแนะนำเรื่องหลักสูตรการเรียนเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับงานวิชาการ
– แจกเครื่องแบบให้กับนิสิตที่เข้าใหม่ทุกปีการศึกษา
– การเบิกจ่ายเอกสารประกอบการเรียนในแต่ละภาคการศึกษาแก่นิสิต พร้อมทั้งตรวจสอบจำนวนเอกสารประกอบการเรียนที่เหลือ

2. ควบคุมความประพฤติ

– กำกับดูแลนิสิตให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือประกาศของทางมหาวิทยาลัย ด้านความประพฤติของนิสิต ทั้งเรื่องการแต่งกาย กิริยามารยาท และการทำความเคารพ

– งานพัฒนานิสิตให้มีวินัยในตนเอง ดูแลการป้องปรามการทะเลาะวิวาทภายในสถาบัน และดูแลสวัสดิภาพของนิสิต

– งานป้องปรามสารเสพติดในมหาวิทยาลัย สอดส่องดูแลและป้องปรามสารเสพติดภายในมหาวิทยาลัย

3. เป็นที่ปรึกษาปัญหาส่วนตัว

– นิสิตมีโรคประจำตัว
– นิสิตทำงาน ทั้ง Full-time และ Part-time
– นิสตที่มีความบกพร่องทางร่างกาย (นิสิตพิการ)
– อื่น ๆ

4. ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร

– ฝ่ายสวัสดิการนิสิต
– ฝ่ายหอพักนิสิต
– ฝ่ายทะเบียนและประมวลผล
– ฝ่ายบริหารงานวิชาการ
– ฝ่ายการคลัง
– ฝ่ายหอสมุดกลาง
– ฝ่ายกิจกรรมนิสิตและกีฬา
– งานแนะแนวอาชีพและจัดหางาน
– ฝ่ายเสริมสร้างภาพลักษณ์และบริการสังคม
– งานไปรษณีย์ เช่น พัสดุ จดหมาย
– งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนิสิต

5. ติดตามและประสานงาน

– นิสิตที่มีปัญหาด้านการเรียน
– นิสิตที่ประสบอุบัติเหตุ และนิสิตเจ็บป่วย
– การทะเลาะวิวาท
– การลักทรัพย์
– การติดสารเสพติด เป็นต้น

6. ปลูกฝังจิตสำนึกพร้อมสร้างความเข้าใจ