การศึกษาต่อเนื่อง
“หลักสูตรเพื่อคนทำงาน” เรียน วันเสาร์ – อาทิตย์
ปรับฐานเงินเดือน!
ปรับตำแหน่งงาน!
สอบข้าราชการ!
เพิ่มทักษะ!
การศึกษาต่อเนื่อง
ระดับปริญญาตรี
Bachelor Degree
การศึกษาต่อเนื่อง
สาขาวิชาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์การดนตรีและศิลปะการแสดง
สาขาวิชาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์การดนตรีและศิลปะการแสดง
Music and Performing Arts Creative Industry (B.A.)
จุดเด่นของสาขาวิชา
“รู้รอบการจัดการ สร้างสรรค์งานนวัตกรรม”
เป็นผู้มีทักษะด้านดนตรีและศิลปะการแสดงอยู่ในระดับมาตรฐานสากล ที่สามารถเข้าใจ พัฒนา และสร้างสรรค์งานดนตรีและการแสดงได้อย่างมีคุณภาพ มีความสามารถมาตรฐานในวิชาชีพเพื่อ เพื่อพร้อมเข้าสู่การทำงานในอุตสาหกรรมบันเทิงด้านดนตรีและศิลปะการแสดง มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ สำนึกรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติ มีทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 สามารถประเมินและชี้นำตนเองได้ คิดวิเคราะห์สังเคราะห์การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้มีความยืดหยุ่นทางความคิด สามารถอยู่ร่วมและทำงานกับผู้อื่นได้ภายใต้สังคมที่เป็นพหุวัฒนธรรม สามารถปรับตัวเข้ากับสถานประกอบการได้อย่างมืออาชีพ ตลอดจนสามารถสื่อสารได้อย่างน้อย 2 ภาษา (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
องค์ความรู้หลักของสาขาวิชาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ การดนตรีและศิลปะการแสดง
มุ่งเน้นทักษะทางด้านดนตรีและศิลปะการแสดง ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ตลอดจนการฝึกงานประสบการณ์วิชาชีพด้านดนตรีและศิลปะการแสดงจากผู้ประกอบการโดยตรงระหว่างเรียน นอกจากนี้ยังได้มีการฝึกฝนและพัฒนาการดนตรีและแสดงสมัยใหม่ และร่วมสมัยในด้านต่าง ๆ การทำงานเป็นเบื้องหน้า ได้แก่ นักร้อง นักดนตรี วาทยกร ผู้ควบคุมวง นักแสดง ทั้งละครเวที ละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ ภาพยนตร์สั้น การแสดงต่างๆ นักเต้น พิธีกร ฯลฯ
การทำงานในเบื้องหลัง เช่น การออกแบบดนตรี การออกแบบเสียง ผู้ประพันธ์คำร้อง ทำนอง การออกแบบฉากสำหรับการแสดง เวทีสำหรับการแสดง ออกแบบแสง ตัวละคร บทละครเวที การออกแบบเครื่องแต่งกายและการแต่งกายและการแต่งหน้าเพื่อใช้ในการแสดง กำกับการแสดง เทคโนโลยีเพื่อการแสดง เช่น การบันทึกเทป การลงเสียง การตัดต่อ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิกในการตกแต่งภาพ การสร้างสรรค์การแสดงประเภทต่างๆ นาฏศิลป์ร่วมสมัย นาฏศิลป์สร้างสรรค์ ฯลฯ นิสิตของสาขาวิชาฯ จะต้องออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพกับหน่วยงานภายนอก เป็นระยะเวลาประมาณ 2 เดือน (ไม่น้อยกว่า 400 ชั่วโมง) ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาศิลปะการแสดง สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
แนวทางการประกอบอาชีพ
นิสิตที่สำเร็จการศึกษา สามารถประกอบอาชีพใน 2 รูปแบบ ดังนี้
1. การทำงานในองค์กร
2. การทำงานอิสระ
ซึ่งการประกอบอาชีพทั้ง 2 รูปแบบวัดจากศักยภาพและความสามารถในการทำงานและผลงานเป็นหลัก
ก. ทำงานเบื้องหน้า ได้แก่ นักร้อง นักดนตรี นักแสดง นักร้อง นักเต้น พิธีกร เป็นต้น
ข. ทำงานเบื้องหลัง ได้แก่ ผู้ประพันธ์คำร้อง ทำนอง นักเขียนบทการแสดง ผู้กำกับการแสดง นัก
ออกแบบเพื่อการแสดง นักออกแบบเครื่องแต่งกาย แต่งหน้า นักออกแบบฉาก นักออกแบบ สร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ นักออกแบบท่าเต้น ผู้กำกับศิลป์ ผู้กำกับเวที ผู้ฝึกสอนการแสดง ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ ผู้ประสานงานกิจกรรมพิเศษ รับจัดงานแสดง (Event Management Company) เป็นต้น
ค่าเทอม 1/2565
เป็นเงินทั้งสิ้น- ผ่อนชำระค่าเทอมได้
- ฟรีเทียบโอน
- เรียนเฉพาะเสาร์-อาทิตย์
- ฟรีเอกสารประกอบการเรียน
- ฟรีชุดนิสิต
- โปรแกรมการศึกษา สาขาวิชาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์การดนตรีและศิลปะการแสดง
- ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร ประมาณ 223,750 บาท
ปริญญาตรี
Bachelor’s degree
ปริญญาโท l เอก
Graduate Studies
การศึกษาต่อเนื่อง(เสาร์-อาทิตย์)
Special Course (Sat.-Sun.)
กู้ยืม กยศ. l กรอ.
Student Loan
สมัครเรียนออนไลน์ RBAC
Rattana Bundit University
มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต